เกี่ยวกับ เทศบาล

ประวัติความเป็นมา

         เทศบาลตำบลรางหวาย   เดิมคือ องค์การบริหารส่วนตำบลรางหวาย  จัดตั้งจากสภาตำบลที่มีรายได้โดยไม่ต้องรวม

เงินอุดหนุนในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๓๖ - ๒๕๓๘ เฉลี่ยไม่ต่ำกว่าปีละ ๑๕๐,๐๐๐ บาท  ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย

เรื่องจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล เมื่อวันที่ ๑๙ มกราคม  ๒๕๓๙  และลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศทั่วไป

เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๙ง ลงวันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๓๙  มีผลบังคับใช้ใน วันที่๓๐  มีนาคม  ๒๕๓๙

         เทศบาลตำบลรางหวาย จัดตั้งขึ้นตามประกาศกระทรวงมหาดไทย  เรื่องจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลรางหวาย อำเภอ

พนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี เป็นเทศบาลตำบลรางหวาย ลงวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๕๑ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่ม  ๑๒๕

ตอนพิเศษ  ๑๗๓ ง    ลงวันที่  ๕  พฤศจิกายน  ๒๕๕๑

 

- สิงห์ของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น หมายถึง ลักษณะของการกำกับดูแลซึ่งเทศบาลตำบลรางหวายสังกัดกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวง มหาดไทย ซึ่งมีภารกิจในความรับผิดชอบ คือ ส่งเสริมสนับสนุนให้องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นมีความเข้มแข็ง มีศักยภาพในการให้บริการสาธารณะ เปรียบเสมือนสิงห์ที่เป็นสัญลักษณ์ความเป็นเจ้าป่า มีพลังอันยิ่งใหญ่ มีความกระตือรือร้นและเป็นเครื่องหมายแสดงว่าเป็นหน่วยราชการส่วนท้องถิ่นที่อยู่ในความดูแลของกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย
- ลำราง แสดงถึง ประวัติตำบลรางหวาย เนื่องจากอดีตมีลำรางสาธารณะไหลผ่านหมู่บ้าน ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติประชาชนใช้ประโยชน์จากลำรางในการอุปโภคและบริโภค และในภาคการเกษตร
- ต้นหวาย แสดงถึง ประวัติของตำบลรางหวาย เนื่องจากอดีตมีลำรางสาธารณะไหลผ่านแล้วมีต้นหวายขึ้นทั้งสองฝั่งของลำรางตลอดแนวลำราง ลักษณะของหวายเป็นพืชทนแล้งได้ดี มีอายุยืนไม่น้อยกว่า ๑๐ ปี มีรากจำนวนมาก จึงสามารถหาอาหารและน้ำได้เอง เป็นพืชใช้ในงานพิธีต่างๆ เช่น งานแต่ง งานบุญขึ้นบ้านใหม่ งานศพ เป็นต้น

วิสัยทัศน์และพันธะกิจ

วิสัยทัศน์  (Vision)

“ อยู่อย่างสะอาด  อยู่อย่างฉลาด  อยู่อย่างปลอดภัยและมั่นคง ”

พันธกิจ  (Mission)

         (1)  สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมเข้าไปมีส่วนร่วมในทุกภารกิจที่เป็นขององค์กรเพื่อโอกาสของ ประชาชน

         (2)  ค่านิยมการกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ชัดเจนในทุกกิจกรรมต้องเกิดขึ้นกับประชาชนทุกเพศทุกวัย

         (3)  บริการสาธารณะขั้นพื้นฐานต้องได้มาตรฐานและทั่วถึง

         (4)   ต้องให้เกิดกระบวนการเรียนรู้และนำไปปฏิบัติได้ว่า  “ ดูแลตนเองดีกว่าไปนอนให้คนอื่นรักษา ”

         (5)  ต้องมีเจ้าภาพจัดการเรื่องการอนุรักษ์และรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

         (6)  ประสานงานภาครัฐและเอกชนให้เกิดยุทธศาสตร์ร่วม  ( คนเล่นกีฬาเก่ง  ต้องมีอนาคต )

         (7)  เทศบาลตำบลรางหวายเป็นแหล่งรวมปัญหาความเดือดร้อนพร้อมสร้างกระบวนการแก้ไข / 

               พนักงานเจ้าหน้าที่ของเทศบาลตำบลรางหวายต้องเป็นมืออาชีพ

ชื่อหมู่บ้าน ครัวเรือน ชาย หญิง รวม -
หมู่ที่ 1 บ้านรางหวาย 200 243 255 498 คน
หมู่ที่ 3 บ้านลาดหมู 215 336 312 648 คน
หมู่ที่ 4 บ้านหนองจอก 182 253 281 534 คน
หมู่ที่ 6 บ้านดอนเตาอิฐ 146 210 253 463 คน
หมู่ที่ 7 บ้านงิ้วราย 16 14 7 21 คน
หมู่ที่ 8 บ้านโกช้าย 166 200 200 400 คน
หมู่ที่ 9 บ้านห้วยกรด 40 20 16 36 คน
หมู่ที่ 10 บ้านรางทอง 298 380 384 764 คน
หมู่ที่ 11 บ้านหัวเขา 122 196 195 391 คน
หมู่ที่ 12 บ้านวังกาบ 80 129 110 239 คน
หมู่ที่ 13 บ้านศรีพนมเขต 27 24 32 56 คน
หมู่ที่ 14 บ้านวังกุ่ม 100 186 152 338 คน
หมู่ที่ 16 บ้านรางหวาย 157 211 232 443 คน
หมู่ที่ 17 บ้านป่าไม้โยน 98 163 154 317 คน
หมู่ที่ 18บ้านนาทราย 159 187 200 387 คน
หมู่ที่ 19 บ้านดอนกลาง 99 151 153 304 คน
หมู่ที่ 20 บ้านรางหวาย 156 215 232 447 คน
หมู่ที่ 21 บ้านหนองแก 112 153 128 281 คน
หมู่ที่ 22 บ้านใหม่ไทดำ 96 177 173 350 คน
หมู่ที่ 23 บ้านไร่ยาพัฒนา 109 174 150 324 คน
ข้อมูลรวม : คน

สภาพทั่วไป ลักษณะภูมิประเทศ

ที่ตั้งและอาณาเขต

            เทศบาลตำบลรางหวาย  ตั้งอยู่หมู่ที่ ๒  ตำบลรางหวาย  อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี  อยู่ทางทิศเหนือของ

อำเภอพนมทวน  ห่างจากที่ว่าการอำเภอพนมทวน ประมาณ  ๑๘  กิโลเมตร และห่างจากศาลากลางจังหวัดกาญจนบุรี

ประมาณ ๔๑  กิโลเมตร การเดินทางมาติดต่อราชการกับเทศบาลตำบลรางหวาย สามารถใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๔  

และมีรถโดยสารประจำทางสายกาญจนบุรี – เลาขวัญ  วิ่งผ่านหน้าสำนักงาน

            เทศบาลตำบลรางหวาย มีเนื้อที่ประมาณ ๔๕,๕๖๔ ไร่ หรือประมาณ ๕๔.๒๑ ตารางกิโลเมตร และมีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้

 

ด้านเหนือ

            จากหลักเขตที่ ๑  เป็นเส้นเลียบริมถนนลาดยางสายตลุงใต้ – รางหวาย ด้านทิศเหนือผ่านบริเวณไหล่เขาคันหอก

และเป็นเส้นทางแบ่งเขตระหว่างตำบลรางหวาย อำเภอพนมทวน กับตำบลดอนแสลบ อำเภอห้วยกระเจา จังหวัดกาญจนบุรี

ไปทางทิศตะวันออก ถึงหลักเขตที่ ๒ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณสันเขาคันหอก บริเวณพิกัด NR ๗๙๔๗๔๒ รวมระยะประมาณ ๓,๒๕๐ เมตร

            จากหลักเขตที่ ๒  เป็นเส้นเลียบไหล่เขาคันหอกตัดผ่านถนนลาดยางสายตลุงใต้ – รางหวายตรงกิโลเมตรที่ ๒ + ๐๐๐

ผ่านเขาคันเบ็ด แล้วเป็นเส้นเลียบริมถนนลูกรังด้านทิศเหนือ ซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างตำบลรางหวาย อำเภอพนมทวนกับตำบล

ดอนแสลบ อำเภอห้วยกระเจา จังหวัดกาญจนบุรี ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ถึงหลักเขตที่ ๓ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณสันเขาคันเบ็ด

บริเวณพิกัดNR ๗๙๖๗๕๗ รวมระยะประมาณ ๑,๙๕๐ เมตร

            จากหลักเขตที่ ๓  เป็นเส้นเลียบริมถนนลูกรังฝั่งเหนือ    ซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างตำบลรางหวาย อำเภอพนมทวน

กับตำบลดอนแสลบ อำเภอห้วยกระเจา จังหวัดกาญจนบุรี ไปทางทิศตะวันออกถึงหลักเขตที่ ๔ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณคลองชลประทาน 

ซ้าย ฝั่งตะวันตก บริเวณพิกัด ๘๑๑๗๖๕รวมระยะประมาณ ๒,๐๕๐ เมตร

            จากหลักเขตที่ ๔  เป็นเส้นเลียบริมคลองชลประทาน ๘ ขวา ๑ ซ้าย ด้านเหนือ ตัดผ่านทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๔๓ 

(ตลาดใหม่ – เลาขวัญ) ตรงกิโลเมตรที่ ๖ + ๑๗๗  ซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างตำบลรางหวาย อำเภอพนมทวน กับตำบลดอนแสลบ

อำเภอห้วยกระเจา จังหวัดกาญจนบุรี ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ถึงหลักเขตที่ ๕ ซึ่งตั้งอยู่ริมถนนคันคลองชลประทาน ๘ ขวา ๑

ซ้าย ด้านเหนือ บริเวณพิกัด ๘๓๓๗๕๗  รวมระยะประมาณ ๒,๐๐๐ เมตร

            จากหลักเขตที่ ๕   เป็นเส้นเลียบริมถนนลูกรังฝั่งเหนือ   ซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างตำบลรางหวาย อำเภอพนมทวน

กับตำบลดอนแสลบ อำเภอห้วยกระเจา จังหวัดกาญจนบุรี ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ถึงหลักเขตที่ ๖ ซึ่งตั้งอยู่ริมคลอง

ทิ้งน้ำจระเข้สามพัน ด้านตะวันตก บริเวณพิกัด ๘๕๑๗๖๑   รวมระยะประมาณ  ๑,๙๐๐ เมตร

            จากหลักเขตที่ ๖  เป็นเส้นเลียบกึ่งกลางคลองทิ้งน้ำจรเข้สามพัน  ตัดผ่านถนนลาดยางสายตลาดเขต – เขารักษ์

หลักกิโลเมตรที่ ๒+๖๔๔ ซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างตำบลรางหวาย อำเภอพนมทวน กับตำบลดอนแสลบ อำเภอห้วยกระเจา

จังหวัดกาญจนบุรี ถึงหลักกิโลเมตรที่ ๗  ซึ่งตั้งอยู่บริเวณคลองทิ้งน้ำจรเข้สามพัน ด้านตะวันออก บริเวณพิกัด NR ๘๖๗๗๘๑

รวมระยะประมาณ  ๓,๑๐๐ เมตร

            จากหลักเขตที่ ๗  เป็นเส้นเลียบตามแนวถนนลูกรังด้านทิศเหนือ ตัดผ่านถนนลาดยางสายบ้านตลาดเขต – บ้านห้วยยาง

ตรงหลักกิโลเมตรที่ ๑ + ๒๐๐ ซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างตำบลรางหวาย อำเภอพนมทวน กับตำบลดอนแสลบ อำเภอห้วยกระเจา

จังหวัดกาญจนบุรี และตำบลจระเข้สามพัน อำเภออู่ทอง จังหวัดกาญจนบุรี ไปทางทิศตะวันออก ถึงหลักเขตที่ ๘ ซึ่งตั้งอยู่ริมถนน

ลาดยางสายบ้านตลาดเขต – บ้านห้วยยาง ด้านตะวันออก บริเวณพิกัด NR ๘๘๗๗๘๑  รวมระยะประมาณ  ๒,๓๐๐  เมตร

 

ด้านตะวันออก

            จากหลักเขตที่ ๘ เป็นเส้นเลียบถนนลาดยางสายบ้านตลาดเขต – บ้านห้วยยาง ฝั่งตะวันออกซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตระหว่าง

ตำบลรางหวาย  อำเภอพนมทวน  จังหวัดกาญจนบุรี  กับตำบลจรเข้สามพัน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ไปทางทิศตะวันออก

ถึงหลักเขตที่ ๙ ซึ่งตั้งอยู่ริมคลองทิ้งน้ำ ด้านใต้ บริเวณพิกัด NR ๘๘๙๗๗๑ รวมระยะประมาณ ๒๘๐ เมตร

            จากหลักเขตที่ ๙ เป็นเส้นเลียบกึ่งกลางคลองทิ้งน้ำ ซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างตำบลรางหวาย อำเภอพนมทวน

จังหวัดกาญจนบุรี กับตำบลจระเข้สามพัน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรีไปทางทิศตะวันออก ถึงหลักเขตที่ ๑๐ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณพิกัด 

NR ๘๙๒๗๗๑ รวมระยะประมาณ ๔๕๐ เมตร

            จากหลักเขตที่ ๑๐ เป็นเส้นเลียบตามแนวเส้นแบ่งเขตระหว่างตำบลรางหวาย อำเภอพนมทวน  จังหวัดกาญจนบุรี 

ตำบลจรเข้สามพัน  อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้  ถึงหลักเขตที่ ๑๑ ซึ่งตั้งอยู่ริมถนนลาดยางสาย

บ้านตลาดเขต – บ้านห้วยยาง ด้านตะวันออกบริเวณพิกัด NR ๘๘๙๗๖๗  รวมระยะประมาณ ๖๕๐ เมตร

            จากหลักเขตที่ ๑๑ เป็นเส้นเลียบผ่านบ้านตลาดเขต ตัดผ่านทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๔ (สายกาญจนบุรี - อู่ทอง) 

ตรงกิโลเมตรที่ ๔๓ + ๔๕๐ ซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างตำบลรางหวาย อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี กับตำบลจรเข้สามพัน

อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ถึงหลักเขตที่ ๑๒ ซึ่งตั้งอยู่ริมถนนคอนกรีต ด้านเหนือ หลังป้อมตำรวจ

บริเวณพิกัด NR ๘๙๐๗๕๙  รวมระยะประมาณ ๙๕๐ เมตร

            จากหลักเขตที่ ๑๒ เป็นเส้นเลียบถนนเทศบาล ไปตามกึ่งกลางลำรางสาธารณะประโยชน์ซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างตำบล

รางหวาย  อำเภอพนมทวน   จังหวัดกาญจนบุรี   กับตำบลจรเข้สามพัน  อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้

ถึงหลักเขตที่ ๑๓ ซึ่งตั้งอยู่กึ่งกลางลำห้วยลึกหลังบ้านตลาดเขต บริเวณพิกัด NR ๘๙๐๗๕๑ รวมระยะประมาณ ๑,๑๐๐ เมตร

            จากหลักเขตที่ ๑๓ เป็นเส้นเลียบตามลำห้วยลึกฝั่งทิศตะวันออก ข้ามคลองชลประทานซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างตำบล

รางหวาย อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี  กับตำบลจรเข้สามพัน   อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้

ถึงหลักเขตที่ ๑๔ ซึ่งตั้งอยู่ริมคลองชลประทาน ๕L - ๒L ฝั่งตะวันออก บริเวณพิกัด NR ๘๘๕๗๓๗ รวมระยะประมาณ ๑,๕๐๐ เมตร

            จากหลักเขตที่ ๑๔ เป็นเส้นเลียบตามแนวถนนคันคลองชลประทาน ด้านตะวันออก ซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างตำบลราง

หวายอำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี กับตำบลหนองบ่อ อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้

ถึงหลักเขตที่ ๑๕ ซึ่งตั้งอยู่ริมถนนลูกรัง ด้านตะวันตก บริเวณพิกัด NR ๘๘๑๗๒๙  รวมระยะประมาณ ๑,๑๗๐ เมตร

            จากหลักเขตที่ ๑๕ เป็นเส้นเลียบตามแนวถนนลูกรัง  ฝั่งตะวันออก  ซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างตำบลรางหวาย อำเภอ

พนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี กับตำบลหนองบ่อ อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ถึงหลักเขตที่ ๑๖

ซึ่งตั้งอยู่ริมถนนคลองชลประทาน ๕L - ๒L ฝั่งตะวันออก บริเวณพิกัด NR ๘๖๘๗๓๐ รวมระยะประมาณ ๑,๒๖๐ เมตร

            จากหลักเขตที่ ๑๖ เป็นเส้นเลียบตามแนวถนนคันคลองชลประทาน ๕L-๒L ฝั่งตะวันตก ซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างตำบล

รางหวายอำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี กับตำบลหนองบ่อ อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้

ถึงหลักเขตที่ ๑๗ ซึ่งตั้งอยู่ริมถนนคันคลองชลประทาน ๕L - ๒L บริเวณพิกัด NR ๘๖๔๗๑๙ รวมระยะประมาณ ๑,๒๖๐ เมตร

            จากหลักเขตที่ ๑๗ เป็นเส้นเลียบเส้นแบ่งเขตระหว่างตำบลรางหวาย อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี กับตำบล

หนองบ่อ อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ผ่านบ้านงิ้วราย ถึงหลักเขตที่ ๑๘ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณพิกัด 

NR ๘๕๙๗๑๒ รวมระยะประมาณ ๑,๒๔๐ เมตร

            จากหลักเขตที่ ๑๘ เป็นเส้นเลียบส้นแบ่งเขตระหว่างตำบลรางหวาย อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี กับตำบล

หนองบ่อ อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี ไปทางทิศใต้ ถึงหลักเขตที่ ๑๙ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณพิกัด NR ๘๖๐๗๐๒ รวมระยะประมาณ

๑,๙๔๐ เมตร

            จากหลักเขตที่ ๑๙ เป็นเส้นเลียบตามแนวถนนสายบวรศิริธรรม ด้านตะวันตก ซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างตำบลรางหวาย

อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี กับตำบลหนองบ่อ อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้

ถึงหลักเขตที่ ๒๐ ซึ่งตั้งอยู่ริมถนนสายบวรศิริธรรม  ด้านใต้ บริเวณพิกัด NR ๘๖๓๖๙๖ รวมระยะประมาณ ๖๐๐ เมตร

            จากหลักเขตที่ ๒๐ เป็นเส้นเลียบตามถนนสายบวรศิริธรรม ด้านเหนือ ซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างตำบลรางหวาย

อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรีกับตำบลหนองบ่อ อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ

ถึงหลักเขตที่ ๒๑ ซึ่งตั้งอยู่ริมถนนสายบวรศิริธรรม ด้านใต้ บริเวณพิกัด NR ๘๕๙๖๙๗ รวมระยะประมาณ ๔๐๐ เมตร

 

ด้านใต้

            จากหลักเขตที่ ๒๑ เป็นเส้นเลียบริมถนนลูกรัง ด้านใต้ ข้ามถนนคลองชลประทานจดทางดินเข้าบ้านกระเจา ซึ่งเป็น

เส้นแบ่งเขตระหว่างตำบลรางหวาย อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี  กับตำบลหนองบ่อ อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี

ไปทางทิศตะวันตก ถึงหลักเขตที่ ๒๒ ซึ่งตั้งอยู่ริมทางสาธารณะ บริเวณพิกัด NR ๘๓๙๗๐๑ รวมระยะประมาณ ๒,๓๐๐ เมตร

           จากหลักเขตที่ ๒๒ เป็นเส้นเลียบริมถนนลูกรังท้ายบ้านดอนแจง ฝั่งตะวันออก ซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างตำบลรางหวาย

กับตำบลพังตรุ อำเภอพนมทวน ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ถึงหลักเขตที่ ๒๓ ซึ่งตั้งอยู่ริมถนนลาดยางสายดอนแจง ด้านเหนือ

บริเวณพิกัด NR ๘๓๒๖๙๓ รวมระยะประมาณ ๑,๓๕๐ เมตร

            จากหลักเขตที่ ๒๓ เป็นเส้นเลียบคูระบายน้ำ ฝั่งเหนือ ตัดผ่านคลองทิ้งน้ำจรเข้สามพัน ซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตระหว่าง

ตำบลรางหวายกับตำบลพังตรุ อำเภอพนมทวน ไปทางทิศตะวันตก ถึงหลักเขตที่ ๒๔ ซึ่งตั้งอยู่ริมถนนคอนกรีตสายกระเจา

ด้านตะวันตก บริเวณพิกัด NR ๘๒๘๖๘๘  รวมระยะประมาณ ๙๕๐ เมตร

 

ด้านตะวันตก

            จากหลักเขตที่ ๒๔ เป็นเส้นเลียบแบ่งเขตระหว่างตำบลรางหวายกับตำบลพังตรุ อำเภอพนมทวน ไปทางทิศตะวันตก

เฉียงใต้ ถึงหลักเขตที่ ๒๕ ซึ่งตั้งอยู่ริมถนนคอนกรีตเสริมเหล็กสายกระเจาด้านทิศเหนือ บริเวณพิกัด NR ๘๑๙๖๘๗ รวมระยะ

ประมาณ ๑,๓๒๐ เมตร

            จากหลักเขตที่ ๒๕ เป็นเส้นเลียบทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๔ ( กาญจนบุรี – อู่ทอง) ฝั่งตะวันออก ซึ่งเป็น

เส้นแบ่งเขตระหว่างตำบลรางหวาย กับตำบลพังตรุ อำเภอพนมทวน ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ถึงหลักเขตที่ ๒๖ ซึ่งตั้งอยู่

ริมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๔ (กาญจนบุรี –อู่ทอง) ตรงกิโลเมตรที่ ๓๑ + ๘๓๘ ฝั่งตะวันออก บริเวณพิกัด NR ๘๑๑๖๗๘

วมระยะประมาณ๑,๑๓๐ เมตร

            จากหลักเขตที่ ๒๖ เป็นเส้นเลียบตัดทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๔ (กาญจนบุรี –อู่ทอง) หลักกิโลเมตรที่ ๓๑ + ๘๓๘

ซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างตำบลรางหวาย กับตำบลดอนตาเพชร อำเภอพนมทวน ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ถึงหลักเขตที่ ๒๗

ซึ่งตั้งอยู่บนถนนคันคลองชลประทาน  ๖ ขวา ๑ ซ้าย ตัดกับคลองชลประทาน ฝั่งซ้าย บริเวณพิกัด NR ๗๘๙๗๐๒ รวมระยะประมาณ

๓,๔๐๐ เมตร

            จากหลักเขตที่ ๒๗ เป็นเส้นเลียบเส้นแบ่งเขตระหว่างตำบลรางหวาย กับตำบลดอนตาเพชร อำเภอพนมทวน ไปทาง

ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ถึงหลักเขตที่ ๒๘ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณพิกัด NR ๗๗๒๗๒๒ รวมระยะประมาณ ๒,๒๓๐ เมตร

            จากหลักเขตที่ ๒๘ เป็นเส้นเลียบเส้นแบ่งเขตระหว่างตำบลรางหวาย กับตำบลดอนตาเพชร อำเภอพนมทวน  ไปทาง

ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ   ผ่านไร่เก้าแสน  จนบรรจบหลักเขตที่ ๑ รวมระยะประมาณ ๒,๘๕๐ เมตร

            ทั้งนี้ ไม่รวมพื้นที่ของเทศบาลตำบลตลาดเขต  อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี

ลักษณะภูมิประเทศ

         เทศบาลตำบลรางหวาย   มีสภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม   มีคลองชลประทานและมีคลองทิ้งน้ำ  (คลองจรเข้สามพัน) ไหลผ่าน  ลักษณะเด่นของชุมชน  คือมีหมู่บ้าน 8 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 2 , 3 ,10 , 14 , 16 , 18 , 20 , 21 อยู่รวมกันและตั้งอยู่กลางตำบล  มีหมู่บ้านที่เหลือล้อมรอบ  ระยะทางจากศูนย์กลางหมู่บ้านถึงหมู่บ้านต่างๆไม่เกิน  10  กิโลเมตร

ลักษณะภูมิอากาศ

         ฤดูร้อน ระหว่าง กลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม มีลมฝ่ายใต้พัดมาปกคลุม ทำให้มีอากาศร้อนอบอ้าวทั่วไป โดยมีอากาศร้อนจัดอยู่ในเดือนเมษายน 

         ฤดูฝน ระหว่างกลางเดือนพฤษภาคมถึงเดือนพฤศจิกายน ในระยะนี้เป็นช่วงที่ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุม ทำให้มีฝนตกชุก โดยตกชุกที่สุดในเดือนกันยายน 
         ฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์  โดยในช่วงนี้ความกดอากาศสูงจากประเทศจีนและลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุม ทำให้อากาศหนาวเย็นและความแห้งแล้งแผ่ปกคลุมจังหวัดกาญจนบุรี 

         อุณหภูมิต่ำสุดโดยเฉลี่ย 23.7 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดโดยเฉลี่ย 34.0 องศาเซลเซียส 

         ปริมาณน้ำฝน เฉลี่ย 1,496.2 มิลลิเมตร/ปี

ลักษณะของดิน

การเมืองการปกครอง

การเลือกตั้ง

         เทศบาลตำบลรางหวาย  แบ่งเขตเลือกตั้งเป็น 2 เขต  ดังนี้

         เขตเลือกตั้งที่ 1  จำนวนสมาชิกสภาเทศบาลตำบลรางหวายที่จะมีการเลือกตั้ง  6  คน  พื้นที่ที่อยู่ในเขตเลือกตั้ง ได้แก่ หมู่ที่

6 , 7 , 8 , 9 , 10 , 16 , 17 , 20 , 22 และ 23 (ทั้งหมด) โดยมีแนวเขตเริ่มต้นบริเวณพิกัด NR 761744 ไปทางทิศตะวันออกตามแนว

ถนนสายรางหวาย - ตลุงใต้  ฝั่งทิศเหนือและตามแนวหลักเขตระหว่างตำบลรางหวาย อำเภอพนมทวน  กับตำบลดอนแสลบ 

อำเภอห้วยกระเจา  ถึงสันเขาคันหอก บริเวณพิกัด NR 794742  ไปทางทิศเหนือตามไหล่เขาคันหอกและตามแนวหลักเขตระหว่าง

ตำบลรางหวาย  อำเภอพนมทวน  กับตำบลดอนแสลบ  อำเภอห้วยกกระเจา  ถึงบริเวณพิกัด NR 795750  ไปทางทิศตะวันออก

เฉียงใต้  ตามแนวหลักเขตหมู่ที่  20 , 18  และหมู่ที่ 2  ถึงบริเวณพิกัด NR 826727  ไปตามทางทิศตะวันออกเฉียงใต้  ตามแนวถนน

ลาดยางคันสระลาดเข้  ถึงบริเวณพิกัด NR 827723 ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตามแนวถนนคอนกรีตถึงบริเวณพิกัด

NR 828724  ไปตามทิศตะวันออกเฉียงใต้ ตามแนวทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3443  (ตลาดใหม่ – เลาขวัญ)  ถึงบริเวณพิกัด

NR 829722 ไปทางทิศตะวันออก  ตามแนวหลักเขตระหว่างหมู่ที่ 16  กับหมู่ที่ 2  ถึงบริเวณพิกัด NR 836721  ไปทางทิศตะวันตก

เฉียงใต้ตามแนวหลักเขตระหว่างเทศบาลตำบลรางหวายกับเทศบาลตำบลตลาดเขต ถึงบริเวณพิกัด NR 819707  ไปทางทิศ

ตะวันออกเฉียงใต้ ตามแนวหลักเขตระหว่างเทศบาลตำบลรางหวายกับเทศบาลตำบลตลาดเขต  ถึงบริเวณพิกัด NR 829694

ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ  ตามแนวแบ่งเขตระหว่างเทศบาลตำบลรางหวายกับเทศบาลตำบลตลาดเขต ถึงบริเวณพิกัด

NR 890751 ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้  ตามลำห้วยลึกฝั่งตะวันออก  เป็นอันสิ้นสุดเขตเลือกตั้งที่ 1

         เขตเลือกตั้งที่ 2  จำนวนสมาชิกสภาเทศบาลตำบลรางหวายที่จะมีการเลือกตั้ง 6  คน  พื้นที่ที่อยู่ในเขตเลือกตั้ง  ได้แก่ หมู่ที่

2,3,4,11,12,13,14,18,19 และ 21 (ทั้งหมด)  โดยมีแนวเขตเริ่มต้นบริเวณพิกัด NR 795750  ไปทางทิศเหนือ  ตามแนวหลักเขต

ระหว่างตำบลรางหวาย อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี กับตำบลจรเข้สามพัน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ถึงบริเวณพิกัด  

NR 796759  ไปทางทิศตะวันออก  ตามถนนลูกรังฝั่ง    ทิศเหนือ และตามแนวหลักเขตระหว่างตำบลรางหวาย  อำเภอพนมทวน 

กับตำบลดอนแสลบ  อำเภอห้วยกระเจา  ถึงคลองชลประทาน 1 ซ้าย ฝั่งทิศตะวันตก  บริเวณพิกัด NR 811765  ไปทางทิศตะวันออก

เฉียงใต้  ข้ามคลองชลประทาน 1 ซ้าย  ตามถนนคันคลองชลประทาน 8 ขวา 1 ซ้าย ด้านทิศเหนือตัดผ่านทางหลวงหมายเลข 3443

ตลาดใหม่  - เลาขวัญ  หลักกิโลเมตรที่ 6 + 177 เมตร และตามหลักเขตตำบลรางหวาย  อำเภอพนมทวน  กับตำบลดอนแสลบ 

อำเภอห้วยกระเจา  ถึงริมคันคลองชลประทาน  8 ขวา 1 ซ้าย (ช่วงแรก) ด้านทิศเหนือ  บริเวณพิกัด NR 833757  ไปทางทิศตะวัน

ออกเฉียงเหนือ  ตามริมถนนลูกรังฝั่งทิศเหนือและตามแนวหลักเขตระหว่างตำบลรางหวาย  อำเภอพนมทวน  กับตำบลดอนแสลบ 

อำเภอห้วยกระเจา  ถึงริมคลองทิ้งน้ำจรเข้สามพัน  ฝั่งทิศตะวันตก   บริเวณพิกัด  NR 851761  ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ

ตามกึ่งกลางคลองทิ้งน้ำจรเข้สามพัน  ตัดผ่านถนนลาดยางสายตลาดเขต – เขารักษ์  หลักกิโลเมตรที่ 2+644 และตามแนวหลักเขต

ระหว่างตำบลรางหวาย  อำเภอพนมทวน  กับตำบลดอนแสลบ  อำเภอห้วยกระเจา    ถึงริมคลองทิ้งน้ำจรเข้สามพัน  ฝั่งทิศตะวันออก

บริเวณพิกัด NR 867781 ไปทางทิศตะวันออก  ตามแนวถนนลูกรังด้านทิศเหนือตัดผ่านถนนลาดยางสายบ้านตลาดเขต –

บ้านห้วยยาง ตรงหลักกิโลเมตรที่ 1 + 200 และตามหลักเขตระหว่างตำบลรางหวาย  อำเภอพนมทวน  กับตำบลดอนแสลบ  อำเภอ

ห้วยกระเจา   ถึงริมถนนลาดยางสายบ้านตลาดเขต – บ้านห้วยกระเจา  ฝั่งทิศตะวันออกและเป็นหลักเขตจังหวัดกาญจนบุรี –

สุพรรณบุรี บริเวณพิกัด NR 887781  ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้  ตามถนนสายบ้านตลาดเขต – บ้านหนองปลิง  และตามแนว

หลักเขตระหว่างเทศบาลตำบลรางหวาย  อำเภอพนทวน  กับตำบลจรเข้สามพัน  อำเภออู่ทอง  จังหวัดสุพรรณบุรี ถึงบริเวณพิกัด

NR 889771 ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตามแนวหลักเขตระหว่างตำบลรางหวาย  อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี  กับ

ตำบลจรเข้สามพัน  อำเภออู่ทอง  จังหวัดสุพรรณบุรี  ถึงบริเวณพิกัด NR 892771 ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้  ตามแนวเส้นเขต

ระหว่างตำบลรางหวาย  อำเภอพนมทวน  กับตำบลดอนแสลบ  อำเภอห้วยกระเจา  จังหวัดกาญจนบุรี    ถึงบริเวณพิกัด NR 889767 

ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ  ตามแนวหลักเขตระหว่างเทศบาลตำบลรางหวายกับเทศบาลตำบลตลาดเขต  ถึงบริเวณพิกัด

NR 891769  ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้  ตามแนวหลักเขตระหว่างเทศบาลตำบลรางหวาย  กับเทศบาลตำบลตลาดเขต  อำเภอ

พนมทวน  ถึงบริเวณพิกัด NR 836721  ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ  ตามแนวหลักเขตระหว่างหมู่ที่ 2 กับหมู่ที่ 16  ถึงบริเวณพิกัด

NR 829722  ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ  ตามแนวทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3443 (ตลาดใหม่-เลาขวัญ)  ถึงบริเวณพิกัด

NR828724  ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้  ตามถนนคอนกรีตถึงบริเวณพิกัด NR 827723  ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้  ตามถนน

ลาดยางคันสระลาดเข้ ถึงบริเวณพิกัด NR 826727 ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ตามแนวหลักเขตระหว่างหมู่ที่ 20, 18 และ

หมู่ที่ 2 ถึงบริเวณพิกัด NR 795750  เป็นอันสิ้นสุดเขตเลือกตั้งที่ 2

 

         โครงสร้างและการบริหารงานของเทศบาลตำบลรางหวาย   แบ่งเป็น  2   ฝ่าย   คือ

         1. ฝ่ายสภาเทศบาล  ประกอบด้วย  สมาชิกสภาเทศบาลที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนใน 2  เขตเลือกตั้ง 

จำนวน 12  คน  โดยมีวาระในการดำรงตำแหน่ง  4  ปี

         2.  ฝ่ายบริหาร  ประกอบด้วย  ผู้บริหาร  คือ นายกเทศมนตรี  จำนวน  1  คน  ที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน

ในเขตเทศบาลตำบลรางหวาย  มีวาระในการดำรงตำแหน่งคราวละ  4  ปี  นับแต่วันเลือกตั้ง (พระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ 13)

พ.ศ.2552) และผู้ช่วยผู้บริหาร จำนวน  4  คน

 

         นายกเทศมนตรี   มีอำนาจหน้าที่ดังนี้

         1. กำหนดนโยบายโดยไม่ขัดต่อกฎหมายและรับผิดชอบในการบริหารราชการของเทศบาลให้เป็นไปตามกฎหมาย  ระเบียบ 

ข้อบังคับ เทศบัญญัติและนโยบาย

         2. สั่ง  อนุญาต และอนุมัติเกี่ยวกับราชการของเทศบาล

         3. แต่งตั้งและถอดถอนรองนายกเทศมนตรี  ที่ปรึกษานายกเทศมนตรีและเลขานุการนายกเทศมนตรี

         4. วางระเบียบเพื่อให้งานของเทศบาลเป็นไปด้วยความเรียบร้อย

         5. รักษาการให้เป็นไปตามเทศบัญญัติ

         6. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้และกฎหมายอื่น

สภาพทางเศรษฐกิจและสังคม

ระบบเศรษฐกิจ

         ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำนา ทำไร่ เลี้ยงสัตว์และประกอบอาชีพอื่น  ดังนี้

         -   อาชีพเกษตรกรรม                   70 %

         -   อาชีพรับจ้างทั่วไป                   10 %

         -   อาชีพธุรกิจส่วนตัว                     6 %

         -   อาชีพรับราชการ/รัฐวิสาหกิจ        4 %

         รายได้เฉลี่ยของครัวเรือนประมาณ   32,000 บาท/ปี   

         ผลผลิตหรือสินค้าที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว , มันสำปะหลัง , อ้อย และเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ กุ้งก้ามกราม , โค , แพะ , แกะ ฯลฯ

สภาพทางการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

การศึกษา

         โรงเรียนระดับประถมศึกษา  จำนวน   2   แห่ง     ดังนี้

         1.  โรงเรียนบ้านดอนเตาอิฐ        ตั้งอยู่หมู่ที่  6   บ้านดอนเตาอิฐ

         2.  โรงเรียนบ้านหนองจอก         ตั้งอยู่หมู่ที่  4   บ้านหนองจอก

         โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา  จำนวน  1  แห่ง  คือ

         1. โรงเรียนอนุบาลพนมทวน (วัดรางหวาย)    ตั้งอยู่หมู่ที่  2   บ้านรางหวาย

         ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก  จำนวน  3  แห่ง  ดังนี้

         1.  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านรางหวาย  ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 บ้านรางหวาย (ถ่ายโอนจาก สปช.)

         2.  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านดอนเตาอิฐ  ตั้งอยู่หมู่ที่ 6 บ้านดอนเตาอิฐ 

         3.  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองจอก  ตั้งอยู่หมู่ที่ 4  บ้านหนองจอก

         ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน (ศรช.) จำนวน  1  แห่ง

         - ตั้งอยู่ภายในสำนักงานเทศบาลตำบลรางหวาย

ศาสนา

         ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 99 เป็นชาวพุทธ  มีวัด  8  แห่ง   ได้แก่

         1.  วัดรางหวาย  ตั้งอยู่หมู่ที่ 2  บ้านรางหวาย

         2.  วัดข้าวเบา  ตั้งหอยู่หมู่ที่ 3 บ้านลาดหมู

         3.  วัดหนองจอก  ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 บ้านหนองจอก

         4.  วัดสระบ้านกล้วย  ตั้งอยู่หมู่ที่ 6  บ้านดอนเตาอิฐ

         5.  วัดโกช้ายเจริญธรรม  ตั้งอยู่หมู่ที่ 8  บ้านโกช้าย

         6.  วัดเขาคลุกคลีเจริญธรรม ตั้งอยู่หมู่ที่ 12  บ้านวังกาบ

         7.  วัดวังกุ่ม  ตั้งอยู่หมู่ที่ 14  บ้านวังกุ่ม

         8.  วัดตรีมิตรประดิษฐาราม  ตั้งอยู่หมู่ที่  23  บ้านไร่ยาพัฒนา

ประเพณี  วัฒนธรรม

          นอกจากประเพณีวัฒนธรรมไทยที่สืบทอดกันมา  เช่น  ประเพณีลอยกระทง  ประเพณีสงกรานต์ ฯลฯ  แล้วยังมีประเพณี

วัฒนธรรมที่โดดเด่นของเทศบาลตำบลรางหวาย คือ ประเพณีวัฒนธรรมของชาวไทยทรงดำหรือไทยโซ่ง  ซึ่งตั้งรกรากอยู่บริเวณ

หมู่ที่ 6 บ้านดอนเตาอิฐ , หมู่ที่ 12 บ้านวังกาบ , หมู่ที่ 22  บ้านใหม่ไทดำ และหมู่ที่ 17 บ้านป่าไม้โยน 

          ชาวไทยทรงดำยังคงถนอมรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่นไว้ได้เป็นอย่างดี มีการสืบสาน เรียนรู้ ถ่ายทอดแก่อนุชน

รุ่นหลัง ปฏิบัติสืบเนื่องกันตลอดมาจนปัจจุบัน โดยเฉพาะพิธีเสนเรือนเป็นพิธีกรรมเก่าแก่ที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาและถือเป็นประเพณี

ที่สำคัญของชาวไทยทรงดำ

          ผู้ชายไทยทรงดำนิยมทำเครื่องจักสาน ผู้หญิงนิยมการเย็บปักถักร้อย ทอผ้า แม้ว่าชาวไทยทรงดำจะเข้ามาตั้งรกราก

อยู่ท่ามกลางชาวไทยเป็นเวลานาน จนสนิทสนมคุ้นเคยกระทั่งได้เรียนรู้ถึงขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมประเพณี กับหลักปฏิบัติ

ในพระพุทธศาสนาตามแบบชาวไทยทั่วไป แต่ไทยทรงดำก็ยังสามารถรักษาวัฒนธรรมประเพณี ที่เป็นของตนไว้ได้เกือบครบถ้วน

เช่น การแต่งกาย ภาษา และพิธีกรรมต่างๆ ซึ่งเป็นวัฒนธรรมประเพณี  ที่ยังปฏิบัติกันมาด้วยความภาคภูมิใจ  เช่น  พิธีเสนเรือน ,

ฟ้อนแคนไทยดำ  ฯลฯ

การบริการพื้นที่และทรัพยากรธรรมชาติ

สาธารณสุข

         มีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล  ให้บริการจำนวน  2  แห่ง  คือ

         1. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตลาดเขต

         2. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคราช

         ทั้งสองแห่งตั้งอยู่ในพื้นที่เทศบาลตำบลตลาดเขต

         3. สถานบริการทางสาธารณสุขของเอกชน (คลีนิก )  จำนวน  1  แห่ง